สำคัญ: หากสั่งซื้อหลังวันที่ 10 ธ.ค. 62 จะไม่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีของปี 2562 ได้แล้ว
- เนื่องจากบริษัทประกันมีขั้นตอนการพิจารณาและใช้เวลาในการออกกรมธรรม์ PrakunRod.com จึงไม่สามารถดำเนินการขอทำประกันเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับปี 2562 ได้ทัน หากสั่งซื้อหลังวันที่ 10 ธ.ค. 62
- แต่จะสามารถใช้ลดหย่อนภาษีปี 2563 ได้แทน
เช็คราคา กรอกข้อมูลด้านล่าง มีส่วนลดพิเศษ สั่งซื้อออนไลน์ได้เลย!
เปรียบเทียบราคาจากบริษัทชั้นนำ เช่น
เอ็ทน่า (เดิม Bupa) New Personal Care / Opal (โอปอล) / Beyond Personal Care / Platinum
สินมั่นคง ตามฟิต,
เอเชียประกันภัย Health Plus,
เมืองไทยประกันภัย Health Smile,
ไทยวิวัฒน์ Star Health,
ทิพยประกันภัย ทิพยจัดเต็ม (Absolute Health Solution),
วิริยะประกันภัย อุ่นใจรักษ์ (V-Total Care),
AXA International Exclusive / Smart Care Executive / Smart Care Executive Plus,
กรุงเทพประกันภัย Happy Healthy Plan
และ
Pacific Cross
ตอบคำถามที่สงสัยเกี่ยวกับประกันสุขภาพ
ตัวอย่างค่าห้องพักโดยประมาณ
ด้านล่างเป็นตัวอย่างค่าห้องพักโดยประมาณ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนประกัน สำหรับราคาที่แน่นอน กรุณาตรวจสอบกับโรงพยาบาลโดยตรง
- ค่าห้องพักเดี่ยว Standard รพ.รัฐ 1,200-2,500/วัน
- ค่าห้องพักเดี่ยว Standard รพ.เอกชน เฉลี่ย 3,200/วัน
- ค่าห้องพักเดี่ยว Standard รพ.เปาโล ประมาณ 3,700/วัน
- ค่าห้องพักเดี่ยว Standard รพ.พญาไท ประมาณ 5,000-6,500/วัน
- ค่าห้องพักเดี่ยว Standard รพ.สมิติเวช ประมาณ 6,000-8,000/วัน
- ค่าห้องพักเดี่ยว Standard รพ.กรุงเทพ ประมาณ 7,500/วัน
- ค่าห้องพักเดี่ยว Standard รพ.บำรุงราษฎร์ ประมาณ 12,000/วัน
ข้อแนะนำในการพิจารณาทำประกันสุขภาพ
- ประเมินความคุ้มครองที่เหมาะสม
- ประเมินค่าใช้จ่ายโรงพยาบาลที่ตั้งใจจะเข้ารักษา ค่าห้องเท่าไหร่ ค่ารักษาเท่าไหร่
- หากมีสวัสดิการประกันสุขภาพจากที่อื่นอยู่แล้ว เช่น ประกันสุขภาพกลุ่มจากที่ทำงาน ให้นำความคุ้มครองที่มีอยู่แล้วมาดูประกอบ หากคิดว่าความคุ้มครองยังน้อยไป ไม่เพียงพอ สามารถทำประกันเพิ่มได้ (เวลาเคลม สามารถใช้หลายกรมธรรม์เคลมได้)
- เลือกซื้อความคุ้มครองให้เหมาะกับความต้องการ ไม่น้อยไป ไม่มากไป
- ความคุ้มครองผู้ป่วยใน (IPD)
- IPD คือ กรณีป่วยต้องนอนโรงพยาบาล (admit) เป็นความคุ้มครองหลักที่มีในทุกแผน
- ส่วนใหญ่จะมีลิมิตวงเงินสูงสุดต่อครั้ง (โรค) และลิมิตวงเงินต่อปี
- ความคุ้มครอง IPD แบ่งเป็น 2 แบบหลักๆ คือ 1) แบบลิมิตวงเงินตามรายการย่อย เช่น ค่าผ่าตัด ค่าเยี่ยมไข้ ฯลฯ และ 2) แบบไม่มีลิมิตรายการย่อย คือ จ่ายตามจริง ไม่เกินวงเงินสูงสุดต่อครั้ง, ต่อปี (บางที่เรียก ประกันสุขภาพเหมาจ่าย) แบบนี้จะยืดหยุ่นกว่า แต่เบี้ยก็จะแพงกว่า
- ซื้อ OPD หรือ ไม่ซื้อ OPD (?)
- OPD คือ กรณีหาหมอไม่ได้นอน ตรวจแล้วกลับบ้านได้
- บางแผนมีให้เลือกซื้อ OPD เพิ่มได้ โดยเบี้ยจะแพงขึ้นพอสมควร
- ให้ลองพิจารณาเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมาว่าคุ้มค่าหรือไม่ สมมติเช่น ได้ OPD 1000/ครั้ง เบี้ยเพิ่มขึ้นมา 6000 บาท เท่ากับว่าต้องใช้ 6 ครั้ง/ปี (โดยแต่ละครั้งต้องมีค่ารักษาอย่างน้อย 1000 บาท) จึงจะคุ้ม ดังนั้นลองพิจารณาจากประวัติที่ผ่านมาของเรา ว่ามีโอกาสได้ใช้บ่อยเพียงใด คุ้มหรือไม่
- ความคุ้มครองประกันอุบัติเหตุ (PA) คืออะไร สำคัญไหม ทำไมบางแผนให้น้อย (?)
- PA คือ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล จ่ายกรณีเสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะจากอุบัติเหตุ
- ความคุ้มครอง PA ในประกันสุขภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นการใส่มาเพื่อให้ "ครบองค์ประกอบกรมธรรม์"
- PA มีความสำคัญและจุดประสงค์ความคุ้มครองของมัน แต่เนื่องจากเราทำประกันสุขภาพจึงควรพิจารณาความคุ้มครองกรณีป่วยไข้เป็นหลัก ไม่ควรใช้ความคุ้มครอง PA มาเป็นน้ำหนักในการตัดสินใจมากเกินไป
- หากแผนที่สนใจมีความคุ้มครองสุขภาพดี แต่ PA ยังไม่เพียงพอ สามารถทำประกัน PA อย่างเดียวเพิ่มได้
เงื่อนไขประกันสุขภาพโดยทั่วไป (ยกเว้นระบุไว้เป็นอย่างอื่น ในแผนนั้นๆ)
- กรณีอุบัติเหตุคุ้มครองทันที
- กรณีป่วยไข้ มีระยะรอคอย waiting period 30 วัน (คุ้มครองหลังทำประกันแล้ว 30 วัน)
- โรคต่อไปนี้ มีระยะรอคอย waiting period 120 วัน หรือ 180 วัน แล้วแต่แผน (คุ้มครองหลังทำประกันแล้ว 120 วัน หรือ 180 วัน)
- เนื้องอก ถุงน้ำ หรือมะเร็งทุกชนิด
- ริดสีดวงทวาร
- ไส้เลื่อนทุกชนิด
- ต้อเนื้อ หรือต้อกระจก
- การตัดทอนซิล หรืออดีนอยด์
- นิ่วทุกชนิด
- เส้นเลือดขอดที่ขา
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- โรคหรือการรักษาที่ ไม่คุ้มครอง
- โรคเรื้อรังที่ไม่ได้รักษาให้หายก่อนทำประกัน, โรคที่เป็นมาแต่กำเนิด, ปัญหาด้านพัฒนาการ, โรคทางพันธุกรรม
- การรักษาเพื่อเสริมสวย แก้ปัญหาผิวพรรณ สิว ฝ้า กระ รังแค ผมร่วง การควบคุมน้ำหนักตัว การผ่าตัดอันมีลักษณะเลือกได้ (เว้นแต่เป็นการแต่งแผลอันเกิดมาจากอุบัติเหตุ ได้รับความคุ้มครอง)
- ตั้งครรภ์ แท้งบุตร ทำแท้ง คลอดบุตร โรคแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ การแก้ไขปัญหามีบุตรยาก การทำหมัน การคุมกำเนิด
- โรคเอดส์ กามโรค โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- การรักษาเพื่อชะลอวัย การให้ฮอร์โมนทดแทนในวัยใกล้หมดระดู การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ การแปลงเพศ
- การตรวจสุขภาพทั่วไป การรักษาหรือการฟื้นฟูโดยให้พักอยู่เฉยๆ
- การรักษาความผิดปกติเกี่ยวกับสายตา ทำเลสิค ค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์เพื่อช่วยรักษาความผิดปกติของการมองเห็น
- การรักษาเกี่ยวกับฟัน เหงือก ทำฟันปลอม ครอบฟัน รากฟัน อุดฟัน จัดฟัน ถอนฟัน ยกเว้นกรณีจำเป็นเนื่องจากการบาดเจ็บโดยอุบัติเหตุ ทั้งนี้ไม่รวม ค่าฟันปลอม การครอบฟันและรักษารากฟัน
- การรักษาการติดยาเสพติด บุหรี่ สุรา สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
- โรคที่เกี่ยวเนื่องกับภาวะทางจิตใจ โรคทางจิตเวช ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ สมาธิสั้น ออธิสซึม เครียด ความผิดปกติของการกิน ความวิตกกังวล
- การรักษาที่อยู่ระหว่างการทดลอง โรคความผิดปกติของการนอนหลับ นอนกรน
- การปลูกฝี ฉีดวัคซีนป้องกันโรค ยกเว้นการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า หรือวัคซีนป้องกันบาดทะยัก หลังถูกสัตว์ทำร้าย หรือภายหลังได้รับบาดเจ็บ
- การรักษาที่ไม่ใช่แผนปัจจุบัน รวมถึงแพทย์ทางเลือก
- ไม่คุ้มครอง การฆ่าตัวตาย การพยายามฆ่าตัวตาย ทำร้ายตัวเอง
- ไม่คุ้มครอง การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากการกระทำของผู้เอาประกันขณะอยู่ใต้ฤทธิ์สุรา สารเสพติด
- ไม่คุ้มครอง การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากการเข้าร่วมทะเลาะวิวาท
- ไม่คุ้มครอง การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นขณะก่ออาชญากรรม ขณะถูกจับกุม หรือหลบหนีการจับกุม
- ไม่คุ้มครอง การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากการแข่งรถ แข่งเรือ แข่งม้า แข่งสกี แข่งเจ็ตสกี แข่งเสก็ต ชกมวย โดดร่ม
- ไม่คุ้มครอง การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานประจำอากาศยานใดๆ
- ไม่คุ้มครอง การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่เป็นทหาร ตำรวจ หรืออาสาสมัคร และเข้าปฏิบัติการในสงคราม หรือปราบปราม
- ไม่คุ้มครอง การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากสงคราม สงครามกลางเมือง การจลาจล การก่อการร้าย การแผ่รังสี การระเบิดของกัมมันตภาพรังสี นิวเคลียร์
- ไม่คุ้มครอง ค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้เอาประกันเป็นแพทย์สั่งให้แก่ตัวเอง หรือแพทย์ผู้สั่งเป็น บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตร ของผู้เอาประกัน
- กรณีผู้เอาประกันภัยซื้อความคุ้มครองชดเชยรายได้เพิ่ม ผู้เอาประกันภัยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างน้อย 6 ชั่วโมง ตามคำสั่งของแพทย์วิชาชีพเท่านั้น และคุ้มครองสูงสุด ไม่เกิน 30 วัน ตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย